Saturday, August 13, 2011

34.ธชัคคปริตร

                   
   เริ่มธชัคคสูตร

                                ยัสสานุสสะระเณนาปิ                        อันตะลิกเขปิ  ปาณิโน                                                       
ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ                         ภูมิยัง  วิยะ  สัพพะทา 
สัพพูปัททะวะชาลัมหา                      ยักขะโจราทิสัมภะวา 
คะณะนา  นะ  จะ  มุตตานัง              ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ

                                    แม้เพียงการระลึกถึงพระปริตรบทใด
สัตว์ทั้งหลายแม้ที่อยู่ในท้องฟ้า
ก็ยังได้ที่พึ่ง (ที่สำหรับเหยียบยืนยัน)
เหมือนกับอยู่บนพื้นดินทุกเมื่อ
และผู้ที่พ้นจากข่ายคืออุปัทวะทั้งปวง
อันเกิดจากยักษ์และโจรเป็นต้น มีอยู่นับไม่ถ้วน
เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรบทนั้น เทอญ                                                                                  
                           

ธชัคคสูตร


            เอวัมเม สุตัง    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ 
เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา  สาวัตถิยัง  วิหะระติ  เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม ฯ  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน  อารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี เขตพระนคร
สาวัตถี
ตัตระ  โข  ภะคะวา  ภิกขู  อามันเตสิ  ภิกขะโวติ ฯ   ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภะทันเตติ  เต  ภิกขู  ภะคะวะโต  ปัจจัสโสสุง    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า  พระเจ้าข้า
ภะคะวา  เอตะทะโวจะ ฯ  พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

            ภูตะปุพพัง  ภิกขะเว  เทวาสุระสังคาโม  สะมุปัพยุฬโห  อะโหสิ    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว
อะถะโข  ภิกขะเว  สักโก  เทวานะมินโท  เทเว  ตาวะติงเส  อามันเตสิ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแลท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า
สะเจ  มาริสา  เทวานัง  สังคามะคะตานัง  อุปปัชเชยยะ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทวดาผู้ไปในสงคราม
มะเมวะ  ตัสมิง  สะมะเย   ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  สมัยนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของเราทีเดียว
มะมัง  หิ    โว  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา   ฉัมภิตัตตัง วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
โน  เจ  เม  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  อะถะ  ปะชาปะติสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชเถิด
ปะชาปะติสสะ  หิ  โว  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
โน  เจ  ปะชาปะติสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  อะถะ  วะรุณัสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด
วะรุณัสสะ  หิ  โว  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชอยู่  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
โน  เจ  วะรุณัสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  อะถะ  อีสานัสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด
อีสานัสสะ  หิ  โว  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะตีติ ฯ  เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป

            ตัง  โข  ปะนะ  ภิกขะเว  สักกัสสะ  วา  เทวานะมินทัสสะ  ธะชัคคัง 
อุลโลกะยะตัง  ปะชาปะติสสะ  วา  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง 
วะรุณัสสะ  วา  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  อีสานัสสะ  วา 
เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเทวดาแลดูยอดธงของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ก็ดี 
ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยเยถาปิ  โนปิ  ปะหิยเยถะ  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น พึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
ตัง  กิสสะ  เหตุ  ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร
สักโก  หิ  ภิกขะเว  เทวานะมินโท  อะวีตะราโค  อะวีตะโทโส  อะวีตะโมโห 
ภิรุ  ฉัมภี  อุตราสี  ปะลายีติ    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ ไม่ปราศจากโมหะ ยังเป็นผู้กลัว หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่

อะหัญจะ  โข  ภิกขะเว  เอวัง  วะทามิ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า
สะเจ  ตุมหากัง ภิกขะเว  อะรัญญะคะตานัง  วา  รุกขะมูละคะตานัง  วา   สุญญาคาระคะตานัง  วา  อุปปัชเชยยะ  ภะยัง  วา   ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากความ กลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดีพึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่าก็ดี  อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดี
มะเมวะ  ตัสมิง  สะมะเย  อะนุสสะเรยยาถะ  คราวนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า
อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะสัมปันโน 
สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา  เทวะมะนุสสานัง 
พุทโธ  ภะคะวาติ  แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์  เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ  เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ  เสด็จไปดีแล้ว  เป็นผู้รู้แจ้งโลก  เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นจะยิ่งไปกว่า  เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  เป็นผู้ตื่นแล้ว  เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้
มะมัง  หิ  โว  ภิกขะเว  อะนุสสะระตัง  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงเราอยู่
ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
โน  เจ  มัง  อะนุสสะเรยยาถะ  อะถะ  ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ  หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า
สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก  เอหิปัสสิโก 
โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ  พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว  ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง  ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดด้วยกาล  ควรเรียกให้มาดูได้  ควรน้อมเข้ามาในตน  อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตน ดังนี้
ธัมมัง  หิ โว  ภิกขะเว  อะนุสสะระตัง  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่
ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
โน  เจ  ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ  อะถะ  สังฆัง  อะนุสสะเรยยาถะ  หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า
สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อุชุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ  ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สามีจิปะฏิปันโน                                           ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว  เป็นผู้ปฏิบัติตรง  เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม  เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง
ยะทิทัง  จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  พระสงฆ์นั้นคือใครได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่คู่ รวมเป็นบุรุษบุคคลแปด นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
อาหุเนยโย  ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ  เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา  เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ  เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา  เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี  เป็นบุญเขตของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า ดังนี้
สังฆัง  หิ  โว  ภิกขะเว  อะนุสสะระตัง  เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระสงฆ์อยู่
ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
ตัง  กิสสะ  เหตุ   ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร
ตะถาคะโต  หิ  ภิกขะเว  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วีตะราโค  วีตะโทโส  วีตะโมโห  อะภิรุ  อัจฉัมภี  อะนุตราสี  อะปะลายีติฯ  เพราะว่าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป

อิทะมะโวจะ  ภะคะวา  อิทัง  วัตวานะ  สุคะโต  อะถาปะรัง  เอตะทะโวจะ  สัตถา  พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

อะรัญเญ  รุกขะมูเล  วา              สุญญาคาเรวะ  ภิกขะโว 
อะนุสสะเรถะ  สัมพุทธัง  ภะยัง  ตุมหากะ  โน  สิยา 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี 
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี
พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด
ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย

โน  เจ  พุทธัง  สะเรยยาถะ          โลกะเชฏฐัง  นะราสะภัง 
อะถะ  ธัมมัง  สะเรยยาถะ           นิยยานิกัง  สุเทสิตัง
ถ้าว่าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
ทีนั้นเธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรม
อันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว  

โน  เจ  ธัมมัง  สะเรยยาถะ           นิยยานิกัง  สุเทสิตัง 
อะถะ  สังฆัง  สะเรยยาถะ           ปุญญักเขตตัง  อะนุตตะรัง
ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระธรรม
อันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว
ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์
ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า

เอวัมพุทธัง  สะรันตานัง            ธัมมัง  สังฆัญจะ  ภิกขะโว 
ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา                  โลมะหังโส  นะ  เหสสะตีติ ฯ
                                        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย


ธชัคคสูตร  สังยุตตนิกาย  สคาถวรรค
พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๘๖๓ - ๘๖๖
          

No comments:

Post a Comment