Saturday, August 13, 2011

33.กรณียเมตตสูตร


เริ่มกรณียเมตตสูตร 
                                                                                                                                          
                                ยัสสานุภาวะโต  ยักขา                       เนวะ  ทัสเสนติ  ภิงสะนัง 
ยัมหิ  เจวานุยุญชันโต                        รัตตินทิวะมะตันทิโต
เพราะอานุภาพแห่งพระปริตรบทใด
ยักษทั้งหลายย่อมไม่แสดงอาการน่าพรั่นพรึง
และบุคคลผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน
ฝักใฝ่อยู่ในพระปริตรบทใด 
สุขัง  สุปะติ  สุตโต  จะ                       ปาปัง  กิญจิ  นะ  ปัสสะติ 
เอวะมาทิคุณูเปตัง                               ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ
บุคคลเช่นนั้นจะหลับก็เป็นสุข
หลับแล้วก็ไม่ฝันร้ายใดๆ                                                                                                
เชิญเราทั้งหลายสวดพระปริตรบทนั้น
อันประกอบด้วยคุณดังที่ว่ามาเป็นตัวอย่างนี้ เทอญ                                                    

                                        
                                                       กรณียเมตตสูตร 

                กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ                ยันตัง  สันตัง  ปะทัง  อะภิสะเมจจะ
                กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันระงับกระทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ พึงกระทำ
สักโก  อุชู  จะ   สุหุชู  จะ     สุวะโจ  จัสสะ  มุทุ   อะนะติมานี 
กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้กล้าหาญ และซื่อตรงดี เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ
สันตุสสะโก  จะ   สุภะโร  จะ             อัปปะกิจโจ  จะ  สัลละหุกะวุตติ
เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจธุระน้อย ประพฤติเบากายเบาจิต   
สันตินทริโย  จะ  นิปะโก  จะ             อัปปะคัพโภ  กุเลสุ  อะนะนุคิทโธ 
มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญารักษาตน เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย
นะ  จะ  ขุททัง  สะมาจะเร  กิญจิ      เยนะ  วิญญู  ปะเร  อุปะวะเทยยุง 
วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นได้ด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย (พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สรรพสัตว์ว่า)
สุขิโน  วา  เขมิโน  โหนตุ                   สัพเพ  สัตตา  ภะวันตุ  สุขิตัตตา 
ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด
เย  เกจิ  ปาณะภูตัตถิ                          ตะสา  วา  ถาวะรา  วา  อะนะวะเสสา
สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยังเป็นผู้สะดุ้ง (คือมีตัณหา) หรือเป็นผู้มั่นคง (ไม่มีตัณหา) ทั้งหมดไม่มีเหลือ
ทีฆา  วา  เย  มะหันตา  วา                 มัชฌิมา  รัสสะกา  อะณุกะถูลา 
จะเป็นเหล่าสัตว์ที่ยาวก็ตาม ใหญ่ก็ตาม ปานกลางก็ตาม สั้นก็ตาม ผอมหรือพีก็ตาม
ทิฏฐา  วา  เย   จะ  อะทิฏฐา               เย  จะ  ทูเร  วะสันติ  อะวิทูเร 
จะเป็นเหล่าสัตว์ที่ได้เห็นแล้วก็ตาม ไม่ได้เห็นก็ตาม อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม
ภูตา  วา  สัมภะเวสี  วา                      สัพเพ  สัตตา  ภะวันตุ  สุขิตัตตา
ที่เกิดแล้วก็ตาม กำลังหาที่เกิดก็ตาม ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้นจงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด
นะ  ปะโร  ปะรัง  นิกุพเพถะ              นาติมัญเญถะ  กัตถะจิ  นัง  กิญจิ
สัตว์อื่นอย่าพึงข่มเหงสัตว์อื่น อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย
พยาโรสะนา  ปะฏีฆะสัญญา             นาญญะมัญญัสสะ  ทุกขะมิจเฉยยะ
ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกันเพราะความกริ้วโกรธและความคุมแค้น 
มาตา  ยะถา  นิยัง  ปุตตัง                  อายุสา  เอกะปุตตะมะนุรักเข 
มารดาถนอมบุตรคนเดียวของตน ด้วยยอมพร่าชีวิตได้ ฉันใด
เอวัมปิ  สัพพะภูเตสุ                           มานะสัมภาวะเย   อะปะริมาณัง 
พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้น
เมตตัญจะ  สัพพะโลกัสมิง               มานะสัมภาวะเย  อะปะริมาณัง
บุคคลพึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น 
อุทธัง  อะโธ  จะ   ติริยัญจะ               อะสัมพาธัง   อะเวรัง  อะสะปัตตัง
พึงเจริญเมตตาอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง 
ติฏฐัญจะรัง  นิสินโน  วา  สะยาโน  วา  ยาวะตัสสะ  วิคะตะมิทโธ
จะยืน เดิน นั่ง หรือนอนก็ตาม เมื่อยังไม่ง่วงงุนอยู่เพียงใด
เอตัง  สะติง  อะธิฏเฐยยะ                  พรัหมะเมตัง  วิหารัง  อิธะมาหุ 
ก็พึงตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น  นี่เรียกว่าการอยู่อย่างประเสริฐในพระศาสนานี้
ทิฏฐิญจะ  อะนุปะคัมมะ    สีละวา  ทัสสะเนนะ  สัมปันโน 
ผู้เจริญเมตตาไม่ข้องแวะความเห็นผิด มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ (คือมรรคผล)
กาเมสุ  วิเนยยะ  เคธัง                        นะ  หิ  ชาตุ  คัพภะเสยยัง  ปุนะเรตีติ 
พึงกำจัดความหมกมุ่นในกามทั้งหลายเสียได้  ย่อมไม่ต้องกลับเข้านอนในครรภ์ (คือไม่ต้องเกิด) อีกโดยแท้ทีเดียวแล             
                              
                                                                                        
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๑๐
ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๓๐๘


No comments:

Post a Comment