Saturday, August 13, 2011

32.รัตนสูตร


 เริ่มรัตนสูตร

                ปะณิธานะโต   ปัฏฐายะ   ตะถาคะตัสสะ  ทะสะ  ปาระมิโย  ทะสะ  อุปะปาระมิโย  ทะสะ 
ปะระมัตถะปาระมิโยติ   สะมะติงสะ  ปาระมิโย  ปูเรตวา  ปัญจะ   มะหาปะริจจาเค  ติสโส   จะริยา  ปัจฉิมมัพภะเว  คัพภาวักกันติง  ชาติง  อะภินิกขะมะนัง  ปะธานะจะริยัง  โพธิปัลลังเก  มาระวิชะยัง  สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง  ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง  นะวะโลกุตตะระธัมเมติ   สัพเพปิเม  พุทธะคุเณ  อาวัชชิตวา   เวสาลิยา  ตีสุ   ปาการันตะเรสุ   ติยามะรัตติง  ปะริตตัง   กะโรนโต  อายัสมา  อานันทัตเถโร  วิยะ   การุญญะจิตตัง  อุปัฏฐะเปตวา
                เราทั้งหลายจงตั้งจิตอันประกอบด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลายดังท่านพระอานนทเถระระลึกถึงพระคุณทั้งหลายทั้งปวงของพระตถาคตเจ้าจำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา คือ ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ กล่าวคือ บารมี  ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕ จริยา ๓ เสด็จลงสู่คัพโภทรในพระชาติสุดท้าย ประสูติ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ บำเพ็ญทุกรกิริยา ชนะมาร ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์ โลกุตรธรรม ๙ ดังนี้แล้ว กระทำพระปริตรตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ภายในกำแพ ๓ ชั้นในเมืองเวสาลี

โกฏิสะตะสะหัสเสสุ                           จักกะวาเฬสุ  เทวะตา 
ยัสสาณัมปะฏิคัณหันติ                      ยัญจะ  เวสาลิยัมปุเร  
โรคามะนุสสะทุพภิกขะ-                   สัมภูตันติวิธัมภะยัง 
ขิปปะมันตะระธาเปสิ                        ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ
                                                เทวดาในแสนโกฏิจักรวาล
ย่อมรับเอาซึ่งอำนาจแห่งพระปริตรบทใด
อนึ่ง พระปริตรบทใด ยังภัย ๓ ประการ
อันเกิดจากโรคระบาด อมนุษย์ และข้าวยากหมากแพง
ในเมืองเวสาลี ให้อันตรธานไปโดยเร็วพลัน
เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรบทนั้นเถิด

                                    
รัตนสูตร

                                                ยานีธะ  ภูตานิ  สะมาคะตานิ 
ภุมมานิ   วา   ยานิวะ   อันตะลิกเข  
สัพเพวะ   ภูตา   สุมะนา  ภะวันตุ  
อะโถปิ  สักกัจจะ   สุณันตุ   ภาสิตัง  
ภูตเหล่าใด ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี
หรือภุมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี
และจงฟังภาษิตโดยเคารพ

ตัสมา   หิ   ภูตา   นิสาเมถะ   สัพเพ  
เมตตัง   กะโรถะ  มานุสิยา   ปะชายะ  
ทิวา   จะ   รัตโต   จะ   หะรันติ   เย   พะลิง  
ตัสมา   หิ   เน   รักขะถะ  อัปปะมัตตา ฯ 
ดูก่อนภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง
ขอจงแผ่เมตตาจิตไปในหมู่มนุษย์ประชาสัตว์
มนุษย์เหล่าใด ทำพลีกรรมทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงรักษามนุษย์เหล่านั้น อย่าได้
ประมาท

ยังกิญจิ   วิตตัง   อิธะ   วา   หุรัง   วา  
สะเคสุ   วา   ยัง   ระตะนัง   ปะณีตัง  
นะ   โน  สะมัง   อัตถิ   ตะถาคะเตนะ 
อิทัมปิ   พุทเธ   ระตะนัง   ปะณีตัง  
เอเตนะ   สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ 
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น
หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์
ทรัพย์และรัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย
พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

ขะยัง   วิราคัง   อะมะตัง   ปะณีตัง  
ยะทัชฌะคา   สักยะมุนี   สะมาหิโต  
นะ   เตนะ   ธัมเมนะ   สะมัตถิ   กิญจิ  
อิทัมปิ   ธัมเม   ระตะนัง   ปะณีตัง  
เอเตนะ   สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ   
พระศากยมุนีมีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใด
เป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรมอันล้ำเลิศ
สิ่งไรๆ ที่จะเสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี
ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

ยัมพุทธะเสฏโฐ  ปะริวัณณะยี  สุจิง  
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ  
สะมาธินา  เตนะ   สะโม   นะ   วิชชะติ   
อิทัมปิ   ธัมเม  ระตะนัง  ปะณีตัง 
เอเตนะ   สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ 
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด
ว่าเป็นธรรมอันสะอาด
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลโดยลำดับ
สมาธิอื่นที่จะเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี
ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

เย   ปุคคะลา   อัฏฐะ  สะตัง   ปะสัฏฐา  
จัตตาริ   เอตานิ   ยุคานิ   โหนติ 
เต  ทักขิเณยยา  สุคะตัสสะ   สาวะกา  
เอเตสุ   ทินนานิ   มะหัปผะลานิ  
อิทัมปิ   สังเฆ   ระตะนัง    ปะณีตัง 
เอเตนะ  สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ 
บุคคล ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
บุคคลเหล่านั้นเป็นสาวกของพระตถาคต ควรแก่ทักษิณาทาน
ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

เย   สุปปะยุตตา   มะนะสา  ทัฬเหนะ 
นิกกามิโน   โคตะมะสาสะนัมหิ   
เต   ปัตติปัตตา   อะมะตัง  วิคัยหะ  
ลัทธา   มุธา   นิพพุติง   ภุญชะมานา  
อิทัมปิ   สังเฆ  ระตะนัง  ปะณีตัง  
เอเตนะ   สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ  
พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระโคดม
ประกอบดีแล้ว (ด้วยกายและวาจาอันบริสุทธิ์) มีใจมั่นคง
เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย (ในร่างกายและชีวิต)
พระอริยบุคคลเหล่านั้นบรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุแล้ว
หยั่งลงสู่อมตนิพพาน ได้มาเปล่าๆ ซึ่งความดับกิเลส เสวยผลอยู่
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

ยะถินทะขีโล   ปะฐะวิง   สิโต   สิยา  
จะตุพภิ   วาเตภิ   อะสัมปะกัมปิโย  
ตะถูปะมัง   สัปปุริสัง   วะทามิ  
โย   อะริยะสัจจานิ   อะเวจจะ   ปัสสะติ  
อิทัมปิ   สังเฆ   ระตะนัง   ปะณีตัง  
เอเตนะ   สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ  
เสาเขื่อนที่ฝังลงดินไม่หวั่นไหวเพราะลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด
ผู้ที่เราเรียกว่าสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย
ก็ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม มีอุปมาฉันนั้น
สังฆรัตนะนี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

เย   อะริยะสัจจานิ  วิภาวะยันติ  
คัมภีระปัญเญนะ   สุเทสิตานิ  
กิญจาปิ   เต   โหติ   ภุสัปปะมัตตา  
นะ   เต    ภะวัง   อัฏฐะมะมาทิยันติ 
อิทัมปิ   สังเฆ   ระตะนัง   ปะณีตัง  
เอเตนะ   สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ   
พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย
อันพระศาสดาผู้มีพระปัญญาลึกซึ้งทรงแสดงไว้ดีแล้ว
พระอริยบุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประมาทอยู่บ้างก็จริง
ถึงกระนั้น (อย่างมากที่สุด) ท่านก็จะไม่เกิดเป็นชาติที่ ๘
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

สะหาวัสสะ   ทัสสะนะสัมปะทายะ  
ตะยัสสุ   ธัมมา   ชะหิตา   ภะวันตุ  
สักกายะทิฏฐิ   วิจิกิจฉิตัญจะ  
สีลัพพะตัง   วาปิ   ยะทัตถิกิญจิ  
จะตูหะปาเยหิ   จะ  วิปปะมุตโต                                                           
ฉะ  จาภิฐานานิ  อะภัพโพ   กาตุง   
อิทัมปิ   สังเฆ  ระตะนัง   ปะณีตัง  
เอเตนะ   สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ 
สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา ตลอดจนสีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งที่มีอยู่
ธรรมเหล่านั้น อันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้ว พร้อมๆ กับทัศนสัมปทา
(คือความถึงพร้อมแห่งการเห็นนิพพาน) ทีเดียว
อนึ่ง พระอริยบุคคลนั้นเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔
ทั้งไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานทั้ง ๖ (คืออนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีต)
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

กิญจาปิ   โส   กัมมัง   กะโรติ   ปาปะกัง  
กาเยนะ   วาจายุทะ   เจตะสา  วา   
อะภัพโพ   โส   ตัสสะ   ปะฏิจฉะทายะ  
อะภัพพะตา   ทิฏฐะปะทัสสะ   วุตตา 
อิทัมปิ   สังเฆ  ระตะนัง   ปะณีตัง  
เอเตนะ   สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ 
พระอริยบุคคลนั้นยังทำกรรมที่ไม่ดี ด้วยกาย วาจา หรือใจ ก็จริง
ถึงกระนั้น ท่านก็จะไม่ปกปิดกรรมที่ไม่ดีอันนั้น
การที่ผู้เห็นนิพพานไม่ปกปิดกรรมที่ไม่ดีนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสไว้
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

วะนัปปะคุมเพ   ยะถา   ผุสสิตัคเค  
คิมหานะมาเส   ปะฐะมัสมิง   คิมเห  
ตะถูปะมัง   ธัมมะวะรัง  อะเทสะยิ  
นิพพานะคามิง   ปะระมัง   หิตายะ                                               
อิทัมปิ   พุทเธ   ระตะนัง   ปะณีตัง  
เอเตนะ   สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ  
พุ่มไม้ในป่ามียอดบานสะพรั่งในเดือนแรกแห่งคิมหันตฤดู ฉันใด
                             พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง ให้ถึงนิพพาน
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์ (ให้เบิกบาน) มีอุปมาฉันนั้น
พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

วะโร   วะรัญญู   วะระโท   วะราหะโร  
อะนุตตะโร   ธัมมะวะรัง   อะเทสะยิ  
อิทัมปิ   พุทเธ   ระตะนัง   ปะณีตัง  
เอเตนะ   สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ  
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ
ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ทรงหลั่งมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ
พระองค์ผู้ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่าได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ
พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

ขีณัง   ปุราณัง   นะวัง   นัตถิ   สัมภะวัง 
วิรัตตะจิตตายะติเก  ภะวัสมิง 
เต   ขีณะพีชา   อะวิรุฬหิฉันทา 
นิพพันติ   ธีรา   ยะถายัมปะทีโป 
อิทัมปิ   สังเฆ   ระตะนัง   ปะณีตัง 
เอเตนะ   สัจเจนะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ
พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป
กรรมเก่าสิ้นไป กรรมใหม่ที่จะทำให้เกิดอีกก็ไม่มี
พระอริยบุคคลเหล่านั้นสิ้นพืชพันธุ์แล้ว ความติดใจก็ไม่งอกขึ้นอีกแล้ว
นักปราชญ์ย่อมดับสนิท เหมือนประทีปดวงนี้อันดับไป ฉะนั้น
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันล้ำเลิศ
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ปวงประชา

                                                ยานีธะ   ภูตานิ   สะมาคะตานิ 
ภุมมานิ   วา   ยานิวะ   อันตะลิกเข 
ตะถาคะตัง   เทวะมะนุสสะปูชิตัง 
พุทธัง   นะมัสสามะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ 
ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี
หรือภุมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
เราทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้เป็นไปแล้วอย่างนั้น
อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว  
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ยานีธะ   ภูตานิ   สะมาคะตานิ 
ภุมมานิ   วา   ยานิวะ   อันตะลิกเข 
ตะถาคะตัง   เทวะมะนุสสะปูชิตัง 
ธัมมัง   นะมัสสามะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ 
ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี
หรือภุมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
เราทั้งหลายจงนมัสการพระตถาคตธรรม
อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว  
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ยานีธะ   ภูตานิ   สะมาคะตานิ 
ภุมมานิ   วา   ยานิวะ   อันตะลิกเข 
ตะถาคะตัง   เทวะมะนุสสะปูชิตัง 
สังฆัง  นะมัสสามะ   สุวัตถิ   โหตุ ฯ 
ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี
หรือภุมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
เราทั้งหลายจงนมัสการพระตถาคตสงฆ์
อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว  
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้



ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๗
ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๓๑๔

No comments:

Post a Comment